ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)


ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)


กิตติ ยกเทพ.( 2556 ). กล่าวว่า นักคิด นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยมมองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะเป็นกลาง คือ ไม่ดีไม่เลว (neutral-passive) การกระทำต่าง ๆ เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus-response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสำคัญกับ “พฤติกรรม” มาก เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้ สามารถวัดและทดสอบได้

  ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพฤติกรรมนิยม ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญ 3 แนวคิด (ทิศนา  แขมมณี. 2548 : 50) ดังต่อไปนี้

1.  ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism Theory)

2.  ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)

3.  ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)

  ทฤษฎีพื้นฐานทางความคิด (assumption) ของทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม คือ พฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นโดยการเรียนรู้และสามารถสังเกตได้  พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของ  การเรียนรู้ที่เป็นอิสระหลายอย่างเสริมแรง (Reinforcement) ช่วยให้พฤติกรรมเกิดขึ้น (สุรางค์  โค้วตระกูล. 2541 : 185 -186) 

 

HONGYOKYOK.(2557).  กล่าวว่า ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมเน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัย ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulas) และ การตอบสนอง (Response) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและ การตอบสนองอันนำไปสู่ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือการเรียนรู้นั่นเอง ผู้นำที่สำคัญของ กลุ่มนี้ คือ พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดร์ (Edward Thorndike) และสกินเนอร์ (B.F.Skinner)

 ความคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม

1. พฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นโดยการเรียนรู้และสามารถจะสังเกตได้

2. พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนที่เป็นอิสระหลายอย่าง

3. แรงเสริม (Reinforcement) ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้

พฤติกรรมของมนุษย์

นักจิตวิทยาได้แบ่งพฤติกรรมของมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภท คือ

               1. พฤติกรรมเรสปอนเดนต์ (Respondent Behavior)
หมายถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้าเมื่อมีสิ่งเร้าพฤติกรรมตอบสนองก็จะเกิดขึ้น ซึ่งสามารถจะสังเกตได้ ทฤษฎีที่อธิบายกระบวนการเรียนรู้ประเภทนี้ คือ ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (
Classical Conditioning Theory)

               2. พฤติกรรมโอเปอแรนต์ (Operant Behavior)
เป็นพฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนทฤษฎีการเรียนรู้ที่ใช้อธิบาย
Operant Behavior เรียกว่า ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory) ซึ่งทฤษฎีนี้เน้นว่าต้องการให้ Operant Behavior คงอยู่ตลอดไป

 

Novobizz.(2556).ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมว่า เป็นทฤษฎีที่เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัย ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulas) และ การตอบสนอง (Response) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและ การตอบสนองอันนำไปสู่ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือการเรียนรู้นั่นเอง ผู้นำที่สำคัญของ กลุ่มนี้ คือ พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดร์ (Edward Thorndike) และสกินเนอร์ (B.F.Skinner)

ตัวอย่างทฤษฎีของกลุ่มพฤติกรรมนิยม ดังนี้

 

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning)

ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้ คือ พาฟลอฟ ซึ่งเป็นนักสรีระวิทยาชาวรัสเซีย เขาได้ทำการศึกษาทดลองกับสุนัขให้ ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงใน ห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข (Before Conditioning) ระหว่างการวางเงื่อนไข (During Conditioning) และ หลังการวางเงื่อนไข (After Conditioning) อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค คือ การตอบสนอง ที่เป็นโดยอัตโนมัติเมื่อนำ สิ่งเร้าใหม่มาควบคุมกับสิ่งเร้าเดิม เรียกว่า พฤติกรรมเรสปอนเด้นท์ (Respondent Behavior) พฤติกรรมการเรียนรู้นี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับมนุษย์และสัตว์ คำที่พาฟลอฟใช้อธิบายการทดลองของเขานั้น ประกอบด้วยคำสำคัญ ดังนี้
- สิ่งเร้าที่เป็นกลาง (
Neutral Stimulus)
คือ สิ่งเร้าที่ไม่ก่อให้เกิดการตอบสนอง
- สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (
Unconditioned Stimulus หรือ US )
คือ สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้ตาม
  
ธรรมชาติ
- สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (
Conditioned Stimulus หรือ CS)
คือ สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้หลังจากถูก
  
วางเงื่อนไขแล้ว
-การตอบสนองที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข (
Unconditioned Response หรือ UCR)
คือการตอบสนองที่เกิดขึ้น ตามธรรมชาติ
-การตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข (
Conditioned Response หรือ CR)
คือ การตอบสนองอันเป็นผลมาจาก
-การเรียนรู้ที่ถูกวางเงื่อนไขแล้ว กระบวนการสำคัญอันเกิดจากการเรียนรู้ของพาฟลอฟ มีอยู่ 3 ประการ อันเกิดจากการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข คือ
- การแผ่ขยาย (
Generalization)
คือ ความสามารถของอินทรีย์ที่จะตอบสนองในลักษณะเดิมต่อสิ่งเร้าที่มี ความหมายคล้ายคลึงกันได้
- การจำแนก (
Discrimination)
คือ ความสามารถของอินทรีย์ในการที่จะจำแนกความแตกต่างของสิ่งเร้าได้
- การลบพฤติกรรมชั่วคราว (
Extinction) คือ การที่พฤติกรรมตอบสนองลดน้อยลงอันเป็นผลเนื่องมาจากการ ที่ไม่ได้รับสิ่งเร้า ที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข การฟื้นตัวของการตอบสนองที่วางเงื่อนไข (Spontaneous recovery) หลังจากเกิด การลบพฤติกรรม ชั่วคราวแล้ว สักระยะหนึ่งพฤติกรรมที่ถูกลบเงื่อนไขแล้วอาจฟื้นตัวเกิดขึ้นมาอีก เมื่อได้รับการกระตุ้นโดยสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข

 

                สรุป

                กลุ่มพฤติกรรมนิยม (BEHAVIORISM)  เป็นการศึกษาพฤติกรรมที่สามารถสังเกตภายนอกได้  และเน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม 

                กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) แยกตัวมาจากกลุ่ม Functionalism แนวโน้ม ของกลุ่มนี้เห็นจะเปลี่ยน จากเรื่องจิตมาเป็นเรื่องของพฤติกรรมล้วน ๆ โดยเห็นว่าพฤติกรรมที่ปรากฏและ สามารถสังเกตได้เท่านั้นเป็นเรื่องสำคัญ ที่ควรศึกษาในจิตวิทยา

                ผู้นำของกลุ่มคือ จอห์น บี.วัตสัน (John B. Watson, 1878 - 1958) ที่มีความคิดค้านกับแนวความคิด ของกลุ่มศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ด้วย สิ่งที่สังเกตและมองเห็นได้ นั่นก็คือ พฤติกรรมหลักของกลุ่มนี้ คือ พฤติกรรมเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ของสิ่งเร้าและการตอบสนอง การศึกษาสิ่งเร้า และการตอบ สนองจะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมได้

 ทฤษฎีและนักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยม ได้แก่

                  1.1  ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ของจอห์น.บี.วัตสัน (John B Watson คศ.1878 1958)

                  1.2  ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory) หรือ แบบสิ่งเร้าของ อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov, 18491936) นักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย

                  1.3  ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory)  ของ เบอร์รัส สกินเนอร์ (Burrhus Skinner)

                  1.4  ทฤษฎีการเรียนรู้แบบต่อเนื่องของ เอ็ดเวิร์ด  แอล. ธรอนไดค์

                  1.5  ทฤษฎีการเรียนรู้ของ โรเบิร์ต  เอ็ม  กาเย่ (Robert M. Gagne)

                  1.6  ทฤษฎีการเรียนรู้ของเจอโรม  บรูเนอร์

                  1.7    ทฤษฎีการเรียนรู้ของชาร์ค  แอล. ฮัลล์

 
 

ที่มา :

กิตติ ยกเทพ. (2556). https://www.gotoknow.org/posts/510835 . [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2561.

HONGYOKYOK.(2557). (https://hongyokyok.wordpress.com .[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2561.


 Novobizz.(2556).http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Behavioral_Learning_Theories.htm .[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2561.



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย่(Gagne’s eclecticism)

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)

นวัตกรรม คืออะไร