ทฤษฏีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยง (Apperception)


ทฤษฏีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยง (Apperception)

ทิศนา แขมมณี. (1964:48). ได้กล่าวถึงทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และเชื่อมโยงความคิดไว้ว่า มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดีและความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดได้จากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม มนุษย์เราเกิดมาพร้อมกับจิตหรือสมองที่ว่างเปล่า การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 การส่งเสริมให้บุคคลมีประสบการณ์มากๆในหลายๆทางจึงเป็นการช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้

                ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ. (2556). ได้รวบรวมทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และเชื่อมโยงความคิดไว้ว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส

                แม่นำ .(2556). ได้รวบรวมทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และเชื่อมโยงความคิดไว้ว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัสการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี          

                สรุป ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิดได้ว่า มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดีและความเลวในตัวเอง นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  มนุษย์เราเกิดมาพร้อมกับจิตหรือสมองที่ว่างเปล่า  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัสการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี

 

ที่มา

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์

ครั้งที่12. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2561.

ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ. (2556). http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486. [Online] เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2561.

 แม่นำ .(2556). http://www.oknation.net/blog/print.php?id=294321. [Online] เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2561.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย่(Gagne’s eclecticism)

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)

นวัตกรรม คืออะไร