ทฤษฎีพหุปัญหา (Theory of Multiple Intelligences)


ทฤษฎีพหุปัญหา (Theory of Multiple Intelligences)

 

                สยุมพร ศรีมุงคุณ.(2555). ได้กล่าวไว้ว่าทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ  2  ประการ คือ
  1.  เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภท 
 -   เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)                
 -   เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical intelligence)  
 -   สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence) 
 -   เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
 -   เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
 -   เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
 -   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
 -   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)
 เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้  คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น  และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน  ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา  ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
  2.   เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
 หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆ ด้าน  ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน  การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน  ครูควรสอนโดนเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตน  ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตนเอง  และเคารพในเอกลักษณ์ของผู้อื่น รวมทั้งเห็นคุณค่าและเรียนรู้ที่จะใช้ความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  ระบบการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินหลายๆ ด้าน  และในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญหาที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ  การประเมินจะต้องครอบคลุมความสามารถในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้อุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ อีกวิธีหนึ่ง

                 ทิศนา แขมมณี. (2555). ได้กล่าวถึงทฤษฎีพหุปัญญาไว้ว่า ผู้บุกเบิกทฤษฎีนี้คือ การ์ดเนอร์
 (Gardner) จาก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) ในปี ค.ศ. 1983 แนวคิดของเขาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดเกี่ยวกับ เชาวน์ปัญญาเป็นอย่างมาก และกลายเป็นทฤษฎีที่กำลังมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน ในปัจจุบัน
                แนววคิดเกี่ยวกับเชาวน์ปัญญา (Intelligence) ที่มีมาตั้งแต่เดิมนั้น จำกัดอยู่ที่ความสามารถทางด้านภาษา ความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ และการคิดเชิงตรรกะหรือเชิงเหตุผลเป็นหลัก การวัดเชาวน์ปัญญาของผู้เรียนจะวัดจากคะแนนที่ทำได้จากแบบทดสอบทางสติปัญญาซึ่งประกอบด้วยการทดสอบความสามารถทั้ง 2 ด้าน ดังกล่าว คะแนนจากการวัดเชาวน์ปัญญาจะเป็นตัวกำหนดเชาวน์ปัญญาของบุคคลนั้นไปตลอด  การ์ดเนอร์ (Gardner, 1983) ให้นิยามคำว่าเชาวน์ปัญญาว่า เชาวน์ปัญญา” (Intelligence)ไว้ว่า หมายถึงความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่างๆ หรือการสร้างสรรค์ผลงานต่างๆซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง รวมทั้งความสามารถในการตั้งปัญหาเพื่อจะหาคำตอบและเพิ่มพูนความรู้
การ์ดเนอร์มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ                              1. เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้พียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์ เท่านั้นแต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน
                2. เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
     ในความคิดของการ์ดเนอร์ เชาวน์ปัญญาของบุคคลประกอบด้วยความสามารถ 3 ประการคือ                 1. ความสามารภในด้านแก้ปัญหาในสภาพการณ์ต่างๆ ที่เป็นไปตามธรรมชาติและตามบริบททางวัฒนธรรมของบุคคลนั้น
                2. ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประสิทธิภาพและสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรม
                3. ความสามารถในการแสวงหาหรือตั้งปัญหาเพื่อหาคำตอบและเพิ่มพูนความรู้
      เชาวน์ปัญญา 8 ด้าน ตามแนวการ์ดเนอร์ มีดังนี้                 1) เชาวน์ปัญญาด้านภาษา  (Inguistic intellignce) เชาวน์ปัญญานี้ถูกควบคุมโดยสมองที่เรียกว่า “broca’s area” สติปัญญาด้านนี้แสดงออกทางความสามารถในการอ่าน การเขียน การพูดอภิปราย การสื่อสารกับผู้อื่น การใช้ศัพท์ การแสดงออกของความคิด การประพันธ์ การแต่งเรื่อง กาเรเล่าเรื่อง เป็นต้น
                2) เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ
 (Logical mathermatical intelligence ) ผู้มีอัจฉริยะด้านการให้เหตุผลเชิงตรรกะ มักคิดโดยใช้สัญลักษณ์ มีระบบระเบียบในการคิด ชอบคิดวิเคราะห์ แยกแยะวิ่งต่างๆ
                3) สติปัญญาด้านติมิสัมพันธ์ (spatgial intelligence) เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา และแสดงออกทางความสามารถด้านศิลปะ การวาดภาพ การสร้างภาพ การคิดเป็นภาพ การเห็นรายละเอียด การใช้สีการสร้างสรรค์งานต่างๆ และมักจะเป็นผู้มองเห็นวิธีแก้ปัญหาในมโนภาพ
                4) เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี (musical intellignce) เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบโสมองซีกขวา แต่ยังไม่สามารระบุตำแหน่งที่แน่นอนได้  บุคคลที่มีสติปัญญาทางด้านนี้ จะแสดงออกทางความสามารถในด้านจังหวะการร้องเพลง การฟังเพลงและดนตรี การแต่งเพลง การเต้น และมีความไวต่อการรับรู้เสียงและฟังจังหวะต่างๆ
               5) เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ (bodily-kinesthetic intellignce) เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองส่วนที่เรียกว่าคอร์แท็กซ์ โดยด้านซ้ายควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกขวา และด้านขวาควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกซ้าย สติปัญญาทางด้านนี้  สังเกตได้จากความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น ในการเล่นกีฬา และเกมต่างๆ  การใช้ภาษาท่าทาง การแสดง การเต้นรำ ฯลฯ
               6) เชาวน์ปัญญาด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น (interpersonal intellignnce) เชาวน์ปัญญานี้ถูกควบคุมโดยสมองส่วนหน้า ความสามารถที่แสดงออกทางด้านนี้ เห็นได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การทำงานกับผู้อื่น การเข้าใจและการเคารพผู้อื่น การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และการจัดระเบียบ ไวต่อความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
               7) เชาวน์ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (intrapersonal intellignce) บุคคลที่มีความสามารถเข้าใจตนเอง มักมีคนที่ชอบคิด พิจารณาไร่ตรอง มองตนเอง และทำความเข้าใจถึงความรู้สึกและพฤติกรรมของตน มักเป็นคนที่มั่นคงในความคิดความเชื่อต่างๆ จะทำอะไรมักต้องการเวลาในการคิดไตร่ตรอง และชอบที่จะคิดคนเดียว ชอบความเงียบสงบ
               8) เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ (naturalist intellignce) เชาวน์ปัญญาด้านนี้เป็นความสามารถในการสังเกตสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การจำแนกแยกแยะ จัดหมวดหมู่ สิ่งต่างๆรอบตัว บุคคลที่มีความสามารถด้านนี้มักเป็นผู้ริธรรมชาติ เข้าใจธรรม ตระหนักในความสำคัญของสิ่งแวดล้อมรอบตัว และมักจะชอบและสนใจสัตว์ ชอบเลี้ยงสัตว์เลี้ยง เป็นต้น
              การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน               การมองและเข้าใจเชาน์ปัญญาในความหมายที่แต่ต่างกัน ย่อมก่อให้เกิดการกระทำที่แตกต่างกัน ทฤษฎีพหุปัญญา ได้ขยายขอบเขตของความหมายของคำว่าปัญญาออกไปอย่างกว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนขยายขอบเขตไปอย่างกว้างขวางเช่นกัน แนวทางการนำทฤษฎีพหุปัญญามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมีหลากหลายดังนี้
              1. เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีเชาวน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เหมือนกัน ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนควรมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาว์ปัญญาหลาย ๆ ด้าน
              2. เนื่องจากผู้เรียนมีระดับพัฒนาการในเชาวน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการในแต่ละด้านของผู้เรียน
              3. เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีเชาวน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เหมือนกัน การผสมผสานความสามารถด้านต่างๆ ที่มีอยู่ไม่เท่ากันนี้ ทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ (uniqueness)
              4. ระบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ควรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนไปจากแนวคิดเดิมที่ใช้การทดสอบเพื่อวัดความสามารถทางเชาว์ปัญญาเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น

                ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า Garner ได้เสนอทฤษฎีพหุปัญญา ซึ่งได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในการนำไปจัดการศึกษาในปัจจุบันGarner มีความเชื่อพื้นฐานว่า เชาว์ปัญญาของบุคคลไม่ได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่หลากหลายถึง 8 ประเภทหรืออาจจะมีมากกว่า นี้ ซึ่งแต่ละคนจะมีความสามารถด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่นและมีความสามารถในด้าน ต่างๆไม่เท่ากันความสามารถที่ผสมผสานกันออกมาทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่ง เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนและเชาว์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่ที่ระดับที่ ตนมีตอนเกิดแต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม

    สรุป
                 “ทฤษฎีพหุปัญญา” ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) ของการ์ดเนอร์ ซึ่งได้แบ่งเชาวน์ปัญญา หรือสติปัญญาของบุคคล ออกเป็น 8 ด้าน ดังนี้
                1) เชาวน์ปัญญาด้านภาษา  (Inguistic intellignce) เชาวน์ปัญญานี้ถูกควบคุมโดยสมองที่เรียกว่า “broca’s area” สติปัญญาด้านนี้แสดงออกทางความสามารถในการอ่าน การเขียน การพูดอภิปราย การสื่อสารกับผู้อื่น การใช้ศัพท์ การแสดงออกของความคิด การประพันธ์ การแต่งเรื่อง กาเรเล่าเรื่อง เป็นต้น
                2) เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ
 (Logical mathermatical intelligence ) ผู้มีอัจฉริยะด้านการให้เหตุผลเชิงตรรกะ มักคิดโดยใช้สัญลักษณ์ มีระบบระเบียบในการคิด ชอบคิดวิเคราะห์ แยกแยะวิ่งต่างๆ
                3) สติปัญญาด้านติมิสัมพันธ์ (spatgial intelligence) เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา และแสดงออกทางความสามารถด้านศิลปะ การวาดภาพ การสร้างภาพ การคิดเป็นภาพ การเห็นรายละเอียด การใช้สีการสร้างสรรค์งานต่างๆ และมักจะเป็นผู้มองเห็นวิธีแก้ปัญหาในมโนภาพ
                4) เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี (musical intellignce) เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบโสมองซีกขวา แต่ยังไม่สามารระบุตำแหน่งที่แน่นอนได้  บุคคลที่มีสติปัญญาทางด้านนี้ จะแสดงออกทางความสามารถในด้านจังหวะการร้องเพลง การฟังเพลงและดนตรี การแต่งเพลง การเต้น และมีความไวต่อการรับรู้เสียงและฟังจังหวะต่างๆ
               5) เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ (bodily-kinesthetic intellignce) เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองส่วนที่เรียกว่าคอร์แท็กซ์ โดยด้านซ้ายควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกขวา และด้านขวาควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกซ้าย สติปัญญาทางด้านนี้  สังเกตได้จากความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น ในการเล่นกีฬา และเกมต่างๆ  การใช้ภาษาท่าทาง การแสดง การเต้นรำ ฯลฯ
               6) เชาวน์ปัญญาด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น (interpersonal intellignnce) เชาวน์ปัญญานี้ถูกควบคุมโดยสมองส่วนหน้า ความสามารถที่แสดงออกทางด้านนี้ เห็นได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การทำงานกับผู้อื่น การเข้าใจและการเคารพผู้อื่น การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และการจัดระเบียบ ไวต่อความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
               7) เชาวน์ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (intrapersonal intellignce) บุคคลที่มีความสามารถเข้าใจตนเอง มักมีคนที่ชอบคิด พิจารณาไร่ตรอง มองตนเอง และทำความเข้าใจถึงความรู้สึกและพฤติกรรมของตน มักเป็นคนที่มั่นคงในความคิดความเชื่อต่างๆ จะทำอะไรมักต้องการเวลาในการคิดไตร่ตรอง และชอบที่จะคิดคนเดียว ชอบความเงียบสงบ
               8) เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ (naturalist intellignce) เชาวน์ปัญญาด้านนี้เป็นความสามารถในการสังเกตสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การจำแนกแยกแยะ จัดหมวดหมู่ สิ่งต่างๆรอบตัว บุคคลที่มีความสามารถด้านนี้มักเป็นผู้ริธรรมชาติ เข้าใจธรรม ตระหนักในความสำคัญของสิ่งแวดล้อมรอบตัว และมักจะชอบและสนใจสัตว์ ชอบเลี้ยงสัตว์เลี้ยง




             
      ที่มา: สยุมพร ศรีมุงคุณ.(2555). https://www.gotoknow.org/posts/341272. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2561.

       ที่มา: ทิศนา  แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12)กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2561.
       ที่มา: ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแดเน็กซ์   อินเตอร์คอร์ปอเรชั่นกรุงเทพฯ. เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2561.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย่(Gagne’s eclecticism)

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)

นวัตกรรม คืออะไร