การจัดการเรียนรู้แบบ ถาม-ตอบ
การจัดการเรียนรู้แบบ ถาม-ตอบ
การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม (Questioning Method)
ครูน้อง .(2561). เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการทางความคิดของผู้เรียน โดยผู้สอนจะป้อนคำถามในลักษณะต่าง ๆ ที่เป็นคำถามที่ดี สามารถพัฒนาความคิดผู้เรียน ถามเพื่อให้ผู้เรียนใช้ความคิดเชิงเหตุผล วิเคราะห์ วิจารณ์ สังเคราะห์ หรือ การประเมินค่าเพื่อจะตอบคำถามเหล่านั้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้คำถามมีขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้
1.ขั้นวางแผนการใช้คำถาม
ผู้สอนควรจะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะใช้คำถามเพื่อวัตถุประสงค์ใด
รูปแบบหรือประการใดที่จะสอดคล้องกับเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของบทเรียน
2.ขั้นเตรียมคำถาม
ผู้สอนควรจะเตรียมคำถามที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
โดยการสร้างคำถามอย่างมีหลักเกณฑ์
3.ขั้นการใช้คำถาม
ผู้สอนสามารถจะใช้คำถามในทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และอาจจะสร้างคำถามใหม่ที่นอกเหนือจากคำถามที่เตรียมไว้ก็ได้
ทั้งนี้ต้องเหมาะสมกับเนื้อหาสาระและสถานการณ์นั้น
ๆ
4.ขั้นสรุปและประเมินผล
4.1 การสรุปบทเรียนผู้สอนอาจจะใช้คำถามเพื่อการสรุปบทเรียนก็ได้
4.2 การประเมินผล
ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้
โดยใช้วิธีการประเมินผลตามสภาพจริง
ประโยชน์
1.ผู้เรียนกับผู้สอนสื่อความหมายกันได้
2.ช่วยให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.สร้างแรงจูงใจและกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
4.ช่วยเน้นและทบทวนประเด็นสำคัญของสาระการเรียนรู้ที่เรียน
5.ช่วยในการประเมินผลการเรียนการสอน
ให้เข้าใจความสนใจที่แท้จริงของผู้เรียน
และวินิจฉัยจุดแข็งจุด อ่อนของผู้เรียนได้
6.ช่วยสร้างลักษณะนิสัยการชอบคิดให้กับผู้เรียน
ตลอดจนนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนตลอดชีวิต
kruNucharee.(2561).
เนื่องจากการสอนโดยวิธีการบรรยายมีข้อเสียหลายข้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราถือว่าการสอนแบบบรรยายนั้นเป็นการสอนที่ผู้เรียนไม่มี
ส่วนร่วมในการเรียนการสอนอย่างแท้จริง เพื่อการแก้ข้อเสียเหล่านั้น เราอาจใช้คำถามเข้ามาช่วย เพราะการใช้คำถามของครูเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนข้ามามีส่วนร่วมในการเรียน
ได้มาก และจะช่วยให้การบรรยายเฉยๆซึ่งเป็นการสื่อความหมายทางเดียวกลายเป็นการสื่อ
ความหมาย 2 ทางขึ้นมาได้ และการเรียนรู้ของผู้เรียนก็จะเปลี่ยนจากการเรียนรู้ที่ไม่มีส่วนร่วมมา
เรียนรู้โดยผู้เรียนมีส่วนร่วมได้บ้าง
หลักการตั้งคำถาม
1.ตั้งคำถามเพื่อดึงความสนใจเข้าสู่บทเรียน
2.ตั้งคำถามเกี่ยวกับความเข้าใจของผู้เรียนในบทเรียน
3.ตั้งคำถามเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน
4.ตั้งคำถามเกี่ยวกับการนำไปใช้ประโยชน์
5.ตั้งคำถามเกี่ยวกับการวิเคราะห์ จำแนกองค์ประกอบ การสังเคราะห์
6.ตั้งคำถามเกี่ยวกับกระบวนการคิดสรุปย่อ
วิธีการตั้งคำถาม
การ ตั้งคำถามนับได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะถ้าหากว่าคำถามที่ครูนำมาใช้นั้นไม่มีคุณภาพแล้ว แทนที่จะช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพขึ้นก็จะทำให้ด้านประสิทธิภาพเสียไป การตั้งคำถามควรคำนึงถึงหลักการต่อไปนี้
1.คำถามต้องมีจุดมุ่งหมายที่แน่ชัด ว่าครูใช้คำถามนั้นเพื่ออะไร
แ
ล้วต้องแต่งคำถามให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย
2.ใช้ภาษาเรียบง่าย และผู้เรียนมีความคุ้นเคย เข้าใจง่าย
3.คำถามแต่ละคำถามเน้นสิ่งเดียว พยายามหลีกเลี่ยงการร่วม 2 คำถามเป็นคำถามเดียว
4.คำถามแต่ละคำถามต้องมีคำตอบเฉพาะเจาะจง
5.หลีกเลี่ยงคำถามที่นักเรียนเดาคำตอบได้ คือคำถามที่ตอบว่าจริงหรือไม่จริง ใช่หรือไม่ใช่
6.ตั้งคำถามหลายๆประเภทได้แก่
6.1ถามตั้งคำถามประเภทความจำง่ายๆ ได้แก่ คำถามที่นักเรียนใช้ความจำ และการระลึกทบทวนก็จะสามารถตอบได้ถ้าเขาจำได้ เช่น ใครเป็นผู้เดินทางโดยเรือรอบโลกเป็นคนแรก
6.2ถามให้อธิบายเหตุผล เช่น ถามด้วยคำถามที่ว่า ทำไม อะไรเป็นเหตุ จงอธิบาย เพราะเหตุใด เป็นต้น
6.3ถามให้สรุปเหตุผลหรือหลักการ
6.4ถามให้พยากรณ์หรือทำนาย คำถามประเภทนี้มักใช้คำว่า ถ้า แล้ว เมือไร จะสมมุติว่า
6.5ถามให้สังเกตส่วนมากคำถามประเภทนี้ครูจะใช้ เมื่อมีการทดลองหรือสาธิต ให้นักเรียนดูโดยใช้คำว่า เท่าไร อะไร เช่น สังเกตเห็นอะไรบ้าง มีลักษณะอย่างไร
6.6ถามให้วิภาควิจารณ์
หรือแสดงความคิดเห็นส่วนตัว
7.คำถามจะต้องไม่บอกใบ้คำตอบของมันเอง คำถามบางคำถามมีคำตอบแฝงอยู่ด้วยแล้ว เช่น อะไรคือสาเหตุสำคัญของสงครามช้างเผือก
8.คำถามควรจะช่วยเหลือบทเรียนดำเนินไปข้างหน้า หมายความว่าคำถามที่ใช้นั้นจะเป็นตัวเชื่อมเนื้อหาจากตอนหนึ่งไปยังอีกตอน
หนึ่ง
9.ตั้งคำถามหลายระดับทั้งยากและง่าย เพราะนักเรียนในแต่ละชั้นมีทั้งความฉลาดไม่เท่ากัน จะได้เลือกใช้คำถามให้เหมาะสมกับสติปัญญาของนักเรียน
10.ในการตั้งคำถามควรจะคำนึงถึงด้วยว่าประสบการณ์ของครูกับนักเรียนแตกต่างกัน
วิธีการตั้งคำถาม
1.ถามคำถามก่อนแล้วจึงระบุตัวนักเรียนให้ตอบ ในการถามคำถามขึ้นมา 1 คำถามนั้น ครูย่อมต้องการที่จะให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมในการทำงาน คิดค้นหาคำตอบ ดังนั้นครูควรจะแสดงให้นักเรียนเห็นได้ว่า คำถามครูถามนักเรียนทุกคน ไม่ใช่ถามคนใดคนหนึ่งเท่านั้น
เช่น
ถ้าครูถามว่า “ปรานี น้อยหน่าออกผลเป็นประเภทใด” นัก
เรียนที่ชื่อปรานีก็จะต้องคิดหาคำตอบของของคำถามอย่าง แล้วคนอื่นๆจะคิดหาคำตอบเพราะรู้ว่าครูถามปรานีเพียงคนเดียว ดังนั้นจึงควรถามนักเรียนทั้งห้องแล้ว เน้นให้คนใดคนหนึ่งตอบ
2.ให้เวลาแก่นักเรียนในการตอบ เพราะเมื่อถามไปแล้ว นักเรียนย่อมต้องการเวลาในการคิด และในขณะที่คิดนั้น ครูควรจะเงียบเพื่อให้เขาได้คิดจริงๆ
3.พยายามถามนักเรียนให้ทั่วถึง เมื่อครูถามแล้ว ต้องพยายามสังเกตและแก้ไข และเปิดโอกาสให้นักเรียนมีโอกาสตอบคำถามอย่างทั่วถึง
4.พยายามช่วยเหลือให้นักเรียนที่ไม่เคยเสนอตัวตอบคำถามเลย โดยการศึกษานักเรียนให้ลึกลงไปถึงเรื่องส่วนตัว เช่น งานอดิเรก ปมเด่น ปมด้อย ซึ่งอาจทำได้โดยการปรึกษากับครูคนอื่นๆ ที่สอนในกลุ่มนี้ด้วย ครูแนะแนว ครูประจำชั้น ถ้าหากถามเด็กย่อมตอบคำถาม และตอบได้ดี ครูจะต้องให้การเสริมแรงที่เหมาะสมกับเขา
5.ถามในลักษณะที่เป็นกันเอง
ไม่มีการจับแฝงอยู่ การที่ครูถามนักเรียนในลักษณะอัยการหรือนายโจทย์ซักจำเลย คงเป็นการยากที่จะให้นักเรียนมีความสุขที่จะเสนอตัวในการตอบคำถาม หรือการตอบในลักษณะของพิธีกรรายการตอบปัญหาทางโทรทัศน์ก็เหมือนกับว่ามีความ
แห้งแล้งและมีความรีบร้อนแอบแฝงอยู่ ครูควรถามแบบครูถามนักเรียน
6.เมื่อนักเรียนตอบถูก ครูต้องให้การเสริมแรงที่เหมาะสม เช่น ยิ้ม กล่าวชอบ ดีมาก ถูก เก่งมาก
7.นักเรียนที่พยายามเสนอตัวตอบคำถามทุกครั้ง จนก่อให้เกิดความไม่เรียนร้อย ครูควรหาเวลาพูดคุยนอกห้องเรียนว่าเขาต้องการสิ่งใด เพื่อแก้ปัญหา
8.ไม่ควรใช้วิธีถามแบบใดแบบหนึ่งที่มีระบบเฉพาะของมันเอง ซึ่งอาจจะทำให้นักเรียนคาดคะเนได้ว่า คนต่อไปครูจะถามใคร เช่นการเรียกเป็นแถวๆเรียงกันไป
9.พยายามหลีกเลี่ยงการพูดคำตอบ หรือคำถามซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะฝึกนิสัยให้มีความสนใจในการตั้งใจฟัง
10.พยายามฝึกวินัยการฟังอย่างวิเคราะห์
11.เมื่อถามคำถามไปแล้ว นักเรียนไม่สามารถตอบคำถามได้ ควรเปลี่ยนคำถามแต่ต้องครอบคลุมเนื้อหาสาระเดิม
ปฏิกิกริยาต่อคำตอบของนักเรียน
1.ถ้าจากการถาม-ตอบ บอกให้รู้ว่า มีนักเรียนเพียงคนเดียวที่ยังไม่เข้าใจครูต้องหาทางพบกับเขาเป็นการส่วนตัว
2.การถามนอกเรื่องของนักเรียน ควรจะถูกผัดผ่อนว่าจะตอบในครั้งต่อไป
3.ถ้านักเรียนตอบไม่ได้ ต้องแนะแนวทางให้เขาตอบได้
4.คำถามที่เป็นประเภทความคิดเห็น ซึ่งยากที่จะบอกให้ชัดเจน ควรเปิดโอกาสให้เขาเสนอข้อมูลหรือข้ออ้างความคิดของเขา
5.ให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อให้นักเรียนได้รู้ว่า คำตอบของเขาถูกหรือผิด
ประโยชน์ของคำถาม
1.ช่วยเชื่อมโยงความรู้เก่าไปสู่ความรู้ใหม่
2.ส่งเสริมให้นักเรียนมีแนวคิดอย่างมีเหตุผลในทักษะต่างๆ
3.ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักตัดสินใจ กล้าแสดงความคิดเห็นและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
4.ช่วยในการประเมินผลการเรียนรู้
5.ช่วยทบทวนบทเรียน
6.ช่วยสรุปความสนใจของนักเรียน หรือสรุปความสำคัญในขณะที่การสอนดำเนินไป
7.ช่วยสร้างสมประสบการณ์
8.เพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียน
9.เพื่อทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น
10.เพื่อสนองความอยากรู้อยากเห็นของนักเรียน
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้.
(2554). วิธีการสอนแบบถามตอบ
Questioning
Method) เป็นการสอนที่ผู้สอนต้องมีการวางแผน
และเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี
มีความรู้ลึกซึ้งในเนื้อหาที่สอน ข้อดี นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน
มีการตรวจเช็คความเข้าใจตลอดเนื้อหา
ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้ลึกซึ้งข้อจำกัด ใช้ได้กับนักศึกษาจำนวนไม่มาก
ใช้เวลาในการสอนมาก
การสอนแบบ
ถาม
ตอบ
(Questioning)
2.1 ลักษณะของคำถาม
• คำถามกว้าง ได้แก่
คำถามที่สามารถตอบได้หลายๆ
คำตอบ
• คำถามแคบ ได้แก่
คำถามที่ชี้เฉพาะเพียงคำตอบเดียว
• คำถามกำกวม ได้แก่
คำถามที่ไม่สามารถตีความได้ว่าผู้ถามต้องการคำตอบแบบไหน
• คำถามไร้สาระ ได้แก่
คำถามที่ไม่มีคุณค่า
คำตอบที่ได้จากคำถามประเภทนี้นำไปใช้วัดหรือประเมินผลการเรียนรู้ไม่ได้
• คำถามที่ดีที่เหมาะสม
ได้แก่
คำถามที่ใช้วัดระดับความรู้ของผู้เรียน
ลักษณะของคำถามจะสัมพันธ์กับเนื้อหาและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนได้
2.2 ระดับความยากของคำถาม
• คำถามง่าย
คำตอบจะสั้น
วัดความจำ
• คำถามปานกลาง คำตอบยาว
อาศัยความเข้าใจในการตีความ
การเปรียบเทียบ
การอธิบาย
หรือบอกความสัมพันธ์
คำถามยาก คำตอบต้องการการเรียบเรียง การจัดลำดับ การสรุปข้อโต้แย้ง เน้นให้ผู้เรียนใช้เหตุผล เป็นการส่งถ่ายความรู้ความเข้าใจทางสติปัญญา 2.3 การใช้คำถาม
• คำถามง่าย ใช้กับเด็กที่เรียนอ่อน
• คำถามปานกลาง ใช้กับเด็กที่เรียนปานกลาง
• คำถามยาก ใช้กับเด็กที่เรียนเก่ง
ที่มา: ครูน้อง.(2561). https://sites.google.com/site/khunkrunong/n12. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2561.
ที่มา: kruNucharee.(2561). http://krunucharee10011.blogspot.com/p/5.html .[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2561.
ที่มา: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้. (2554). http://www.fte.kmutnb.ac.th/km.[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2561.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น