นวัตกรรม คืออะไร


นวัตกรรมคืออะไร

         นิลรัตน์.(2555). คำว่านวัตกรรมมาจากคำภาษาอังกฤษว่า “Innovation” โดยมีรูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว +อตต+กรรม  ทั้งนี้ คำว่า นว แปลว่า ใหม่ อัตต แปลว่า ตัวเอง และกรรมแปลว่าการกระทำ เมื่อรวมเป็นคำว่านวัตกรรม ตามรากศัพท์หมายถึง การกระทำที่ใหม่ของตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับคำนิยามของ       สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (2549) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรมคือ      “ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม”
          ดังนั้นน่าจะสรุปได้ว่า นวัตตกรรม หมายถึง สิ่งใหม่ที่กระทำซึ่งเกิดจากการใช้ความรู้ ใช้ความคิดสร้างสรรค์  สิ่งใหม่ในที่นี้อาจจะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ แนวคิด หรือกระบวนการ  ที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนา


          องค์ประกอบของนวัตกรรม   ประกอบด้วย
1.ความใหม่ ใหม่ในที่นี้คือ สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดทำมาก่อน  เคยทำมาแล้วในอดึตแต่นำมารื้อฟื้นใหม่ หรือเป็นสิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม
2.ใช้ความรู้หรือความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนา   นวัตกรรมต้องเกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างและพัฒนา ไม่ใช่เกิดจากการลอกเลียนแบบ หรือการทำซ้ำ
3.มีประโยชน์ สามารถนำไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาในการดำเนินงานได้ ถ้าในทางธุรกิจต้องมีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ สร้างมูลค่าเพิ่ม
4.นวัตกรรมมีโอกาสในการพัฒนาต่อได้


ชั้นตอนของนวัตกรรม  
1.การคิดค้น (Invention)  เป็นการยกร่างนวัตกรรมประกอบด้วยการศึกษาเอกสารทฤษฎีที่เกี่ยวกับนวัตกรรม การกำหนดโครงสร้างรูปแบบของนวัตกรรม
2.การพัฒนา ( Development)  เป็นขั้นตอนการลงมือสร้างนวัตกรรมตามที่ยกร่างไว้ การตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรมและการปรับปรุงแก้ไข
3.ขั้นนำไปใช้จริง(Implement) เป็นขั้นที่มีความแตกต่างจากที่เคยปฏิบัติเดิมมา ในขั้นตอนนี้รวมถึงขั้นการทดลองใช้นวัตกรรม และการประเมินผลการใช้นวัตกรรม
4.ขั้นเผยแพร่ ( Promotion) เป็นขั้นของการเผยแพร่ การนำเสนอ หรือการจำหน่าย




          ละอองทิพย์ บุณยเกียรติ.(2553). นวัตกรรม คือ “สิ่งที่เกิดจากการใช้ความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆอย่างบูรณาการ เพื่อประดิษฐ์สร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ทางสังคมและเศรษฐกิจ”
องค์ประกอบของนวัตกรรม
  จากประเด็นที่เป็นแก่นหลักสำคัญของคำนิยาม  องค์ประกอบที่เป็นมิติสำคัญของนวัตกรรม มีอยู่ 3 ประการ คือ
1.ความใหม่ (Newness) หมายถึง เป็นสิ่งใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้น ซึ่งอาจเป็นตัวผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการ โดยจะเป็นการปรับปรุงจากของเดิมหรือพัฒนาขึ้นใหม่เลยก็ได้(Utterback,1971,1994,2004 ; Tushman and Nadler,1986;freeman & Soete,1997;Betje,1998;Herkma,2003;Schilling,2008)
2. ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ (Economic Benefits) หรือการสร้างความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ กล่าวคือ นวัตกรรม จะต้องสามารถทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นได้จากการพัฒนาสิ่งใหม่นั้นๆซึ่งผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอาจจะวัดได้เป็นตัวเงินโดยตรง หรือไม่เป็นตัวเงินโดยตรงก็ได้  (Utterback,1971,1994.2004;Drucker,1985,1993;Damanpour,1987;Smits,2002;DTI 2004)
3.  การใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์(Knowledge and Creativity Idea) สิ่งที่จะเป็นนวัตกรรมได้นั้นต้องเกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์เป็นฐานของการพัฒนาให้เกิดซ้ำใหม่ ไม่ใช่เกิดจากการลอกเลียนแบบ  การทำซ้ำ เป็นต้น


กระบวนการนวัตกรรม
  กระบวนการนวัตกรรม จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้องค์กรสามารถดำรงอยู่และเจริญเติบโตต่อไปได้ ซึ่งกระบวนการประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ ๆ หลายประการ
1.การค้นหา(Searching)
เป็นการสำรวจสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก เพื่อตรวจจับสัญญาณของทั้งโอกาสและอุปสรรค สำหรับการนำไปสู่จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
 2.  การเลือกสรร(Selecting)
เป็นการตัดสินใจเลือกสัญณาณที่สำรวจพบเหล่านั้น เพื่อจะนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร ทั้งนี้การเลือกสรรจำเป็นต้องมีความาสอดคล้องกับหลักกลยุทธ์ขององค์กร
3.  การนำไปปฏิบัติ( Implementing)
เป็นการแปลงสัญญาณที่มีศักยภาพ ไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นและนำสิ่งเหล่านั้นออกเผยแพร่สู่ตลาดทั้งภายในและภายนอกองค์กร แต่สัญญาณที่ว่า ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้นหากแต่จะเกิดขึ้น ด้วยการดำเนินงานขั้นตอนที่สำคัญอีก ๔ ประการ ดังนี้
3.1 การรับ (Acquring)
  คือ ขั้นตอนของการนำองค์ความรู้ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นนวัตกรรมขึ้น เช่น การสร้างสรรค์สิ่งใหม่จากกระบวนการทางวิจัยและพัฒนา(R&D) , การทำวิจัยทางการตลาด รวมไปถึง การได้รับองค์ความรู้จากแหล่งอื่น ๆ โดยการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี (Technology Transfer) หรือการค้นคว้าร่วมกันในเครือพันธมิตร (Strategic Alliance) เป็นต้น
3.2 การปฏิบัติ(Executing)
  คือ ขั้นตอนของการนำโครงการดังกล่าวสู่การปฏิบัติงานภายใต้สภาพของความไม่แน่นอนต่าง ๆ ซึ่งต้องอาศัยทักษะการแก้ปัญหา (Problem-Solving) ตลอดเวลา
3.3 การนำเสนอ (Launching)
  คือ การนำนวัตกรรมที่ได้ออกสู่ตลาด โดยอาศัยการจัดการอย่างเป้ฯระบบเพื่อให้นวัตกรรมนั้นสามารถเป็นที่ยอมรับจากตลาดได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกของการนำออกสู่ตลาด
3.4 การรักษาสภาพ(Sustaining)
  คือ การรักษาสถานะภาพการยอมรับจากตลาด ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไปและคงอยู่ให้นานเท่าที่จะเป็นได้ ซึ่งอาจจะต้องนำนวัตกรรมนั้น ๆกลับมาปรับปรุงแก้ไขในแนวความคิดหรือทำการเริ่มใหม่ตั้งแต่ต้น (Reinnovation) เพื่อให้ได้นวัตกรรมที่ถึกพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น
4.  การเรียนรู้( Learning)
เป็นสิ่งจำเป็นที่องค์กรควรที่จะศึกษาและเรียนรู้ในชั้นตอนต่าง ๆของกระบวนการทางนวัตกรรมเพื่อก่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้พื้นฐานที่แข้งแกร่ง และสามารถนำไปใช้พัฒนาวิธีการสำหรับจัดการกับกระบวนการทางนวัตกรรมเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น


            

              เกร็ดความรู้.เน็ต. (2555). นวัตกรรม (Innovation) คือ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ แนวคิด และกระบวนการ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้


โดยนวัตกรรมสามารถแบ่งแยกออกเป็น 3 ขั้นตอนด้วยกันคือ
1. การประดิษฐ์คิดค้น ด้วยการปรับเปลี่ยนแก้ไขของเก่าให้ดีขึ้น เหมาะสมกับการใช้งานมากขึ้น
2. พัฒนาการ เป็นการทดลองผลิตภัณฑ์ แนวคิด หรือกระบวนการ
3. การนำไปปฏิบัติ เพื่อพิสูจน์ดูว่านวัตกรรมที่สร้างขนมานั้นสมบูรณ์หรือไม่



จะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรคือ “นวัตกรรม”…?

เราสามารถแยกแยะนวัตกรรมออกจากสิ่งของทั่วไปด้วยการพิจาณาถึงลักษณะของสิ่งของว่ามีลักษณะใกล้เคียงกับนวัตกรรมหรือไม่ โดยพิจารณาได้จาก
– เป็นสิ่งของที่สร้างหรือคิดค้นขึ้นใหม่ทั้งหมด หรือแค่บางส่วน
– มีวิธีการจัดระบบเป็นองค์ประกอบในส่วนของข้อมูล
– มีการพิสูจน์ และวิจัยว่าสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นวัตกรรมจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นของสิ่งต่างๆ ดังนั้นจึงมีการนำนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้กับการศึกษาในด้านต่างๆ ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และวิศวกรรม เป็นต้น เพื่อให้แต่ละด้านมีประสิทธิภาพและเกิดความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
ดังนั้นนวัตกรรมจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงความรู้เดิมให้ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยผ่านกระบวนการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ จากนั้นก็นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม




       


ที่มา: นิลรัตน์.(2555).https://www.gotoknow.org/posts/492060. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2561.
ที่มา: ละอองทิพย์ บุณยเกียรติ.(2553). https://www.gotoknow.org/posts/541406.[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2561.
ที่มา: เกร็ดความรู้.เน็ต. (2555).https://www.เกร็ดความรู้.net/.[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2561.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย่(Gagne’s eclecticism)

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)